การเดินทางไปในสถานที่หนึ่งในสมัยก่อน
เป็นเรื่องที่ยากมาก
เพราะอุปกรณ์เดียวที่สามารถนำทางเราไปยังสถานที่ที่เราไม่เคยไปเลยก็คือแผนที่
ซึ่งการดูแผนที่ และเข็มทิศก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะอ่านทำความเข้าใจ
แต่ในวันนี้เทคโนโลยีในการนำทาง ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบันเรามีระบบนำทางที่ทันสมัย
ซึ่งเรารู้จักเทคโนโลยีในชื่อ GPS (Global
Positioning System)
– GPS ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ GPS Navigator (อุปกรณ์และระบบนำทาง)
และ GPS Tracking System (อุปกรณ์และระบบติดตามรถ
ยาพาหะนะหรือสัตว์เลี้ยง)
– GPS Navigator (อุปกรณ์และระบบนำทาง) เป็น GPS
ที่เราใช้งานในรถยนต์ทั่วไปที่บอกแผนที่การเดินทางด้วยการป้อนข้อมูลของเป้าหมายลงไปเครื่องนำทาง
GPS
– GPS Tracking System (อุปกรณ์และระบบติดตามรถ
ยาพาหะนะหรือสัตว์เลี้ยง) ซึ่งเป็น GPS ที่สามารถติดตามการเดินทาง
และบอกพิกัดและตำแหน่งของ เครื่อง GPS ได้ด้วย
โดยเราสามารถแบ่งเป็นออกได้อีก 2 แบบด้วยกันคือ
อุปกรณ์ติดตามรถแบบ Offline สามารถตรวจสอบประวัติการเดินทางได้
แต่ไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่ของเครื่อง GPS ได้
และแบบที่สองอุปกรณ์ติดตามรถแบบกึ่ง Offline ซึ่งจะทำงานร่วมกับมือถือเราสามารถที่จะดูประวัติการเดินทางพร้อมทั้งตำแหน่งปัจจุบันของอุปกรณ์
GPS นั้นๆได้อีกด้วย
GPS ทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง
โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ
ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของเวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง
ณ ปัจจุบันเพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณกับดาวเทียมแต่ละดวง
ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับสัญญาณดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม
ต้องมีดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก
ซึ่งระยะห่างจากดาวเทียมทั้ง 3 กับเครื่อง GPS (ที่จุดสีแดง) จะสามารถระบุตำแหน่งบนผิวโลกได้
หากพื้นโลกอยู่ในแนวระนาบแต่ในความเป็นจริงพื้นโลกมีความโค้งเนื่องจากสัณฐานของโลกมีลักษณะกลม
ดังนั้นดาวเทียมดวงที่ 4 จะทำให้สามารถคำนวณเรื่องความสูงเพื่อทำให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องมากขึ้น
นอกจากนี้ความแม่นยำของการระบุตำแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง
กล่าวคือถ้าระยะห่างระหว่างดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ห่างกันย่อมให้ค่าที่แม่นยำกว่าที่อยู่ใกล้กัน
และยิ่งมีจำนวนดาวเทียมที่รับสัญญาณได้มากก็ยิ่งให้ความแม่นยำมากขึ้น
ความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศชั้นบรรยากาศประกอบด้วยประจุไฟฟ้า ความชื้น อุณหภูมิ
และความหนาแน่นที่แปรปรวนตลอดเวลา คลื่นเมื่อตกกระทบ กับวัตถุต่างๆ
จะเกิดการหักเหทำให้สัญญาณที่ได้อ่อนลง
และสิ่งแวดล้อมในบริเวณรับสัญญาณเช่นมีการบดบังจากกระจก ละอองน้ำ ใบไม้
จะมีผลต่อค่าความถูกต้องของความแม่นยำ
เนื่องจากถ้าสัญญาณจากดาวเทียมมีการหักเหก็จะทำให้ค่าที่คำนวณได้จากเครื่องรับสัญญาณเพี้ยนไป
และสุดท้ายก็คือประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณว่ามีความไวในการรับสัญญาณแค่ไหนและความเร็วในการประมวณผลด้วย
อ้างอิง
https://www.google.co.th/search?q=gps&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiTsLiN0tTeAhVCtY8KHaxDDMUQ_AUIFCgC&biw=1366&bih=626#imgrc=m58SlYmOJtUnUM:
https://www.google.co.th/search?q=gps&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiTsLiN0tTeAhVCtY8KHaxDDMUQ_AUIFCgC&biw=1366&bih=626#imgrc=ofga1gBGGQWjbM:
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น